รอยแผลเป็นจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก และวิธีการรักษาที่ถูกต้อง
แผลเป็นจากไฟไหม้ คือ แผลที่เกิดจากความร้อนหรือการถูกไฟเผาไหม้ทำลายเซลล์ชั้นผิวหนัง เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความไม่ระมัดระวัง ความประมาทและความไม่รอบคอบ ซึ่งบาดแผลไฟไหม้ก็เป็นอีกอุบัติเหตุหนึ่งที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันของใครหลายๆคน ทั้งเกิดจากอุบัติเหตุเล็กๆไปหาอุบัติเหตุใหญ่ๆ เช่น จากการทำครัว การทำอาหาร ทำกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ การโดนสารเคมี การถูกไฟฟ้าช็อตรุนแรง เกิดอัคคีภัยขนาดใหญ่ ไฟไหม้อาคารบ้านเรือน
บาดแผลที่เกิดจากความร้อน มีหลายแบบ เช่น น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ โดนของร้อนสัมผัสผิวหนัง ไฟฟ้าช็อต กรดสารเคมี เป็นต้น ซึ่งความรุนแรงของบาดแผลนั้นมีหลายระดับ เนื่องด้วยระยะเวลาที่มีการถูกสัมผัสมากถึงสัมผัสน้อย หากโดนสัมผัสเป็นเวลาสั้นๆ บาดแผลก็จะทำการรักษาได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน อีกทั้งจะไม่ก่อให้เกิดรอยแผลเป็นถาวร แต่ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุจนบาดแผลถึงขั้นรุนแรงมาก ก็จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที เพราะอาจจะเป็นอันตรายถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ แต่การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก็จำเป็นสำหรับการรักษาแผลเบื้องต้นก่อนจะนำตัวไปรักษากับแพทย์เพื่อไม่ให้แผลลุกลามจนเกิดรักษายาก หากเป็นเพียงบาดแผลเล็กน้อยก็สามารถรักษาเองได้ด้วยการใช้ยาทา แต่หากมีขนาดใหญ่เกินฝ่ามือขึ้นไปไม่ควรนิ่งนอนใจทำการรักษาเอง

ระดับความรุนแรงของบาดแผลไฟไหม้ มีทั้งหมดด้วยกัน 3 ระดับ
- ระดับแรก (First degree burn)
- ระดับที่สอง (Second degree burn)
- ระดับที่สาม (Third degree burn)
แผลไฟไหม้ระดับแรก (First degree burn) ผิวจะเสียหายเพียงแค่ผิวหนังชั้นนอก เช่น จากการโดนน้ำร้อนลวก ผิวหนังจะมีอาการแดง ปวดแสบปวดร้อน สัมผัสแล้วเจ็บ แต่ผิวจะไม่พุพองจนเกิดถุงน้ำใส เพียงแค่ปฐมพยาบาลเบื้องต้นก็จะสามารถหายได้อย่างรวดเร็ว
แผลไฟไหม้ระดับสอง (Second degree burn) ผิวหนังจะเสียหายเพิ่มขึ้นจากระดับแรก เนื่องด้วยระยะเวลาหรือความร้อนที่สูงมาก จากอุบัติเหตุส่งผลให้ผิวหนังถูกทำลายจนเกิดบาดแผล อย่างเช่น โดนน้ำมันในกระทะกระเด็นใส่ โดนท่อไอเสียร้อนๆสัมผัสถูกผิว ผิวหนังจึงจะเกิดถุงน้ำใสนูนบวมออกมา มีน้ำเหลืองซึมภายในแผล ซึ่งหากถุงน้ำใสแตกโดยตรงหรือเกิดการเสียดสี มักจะค่อนข้างแสบผิวบริเวณแผลหากมีอะไรมาสัมผัสโดน และเมื่อแผลหาย ผิวหนังจะกลับมาเป็นปกติ แต่อาจจะเกิดรอยแผลเป็นทิ้งไว้ตามความกว้างและขนาดของบาดแผล สามารถรักษาด้วยการทาครีมลดรอยจากบาดแผล
แผลไฟไหม้ระดับสาม (Third degree burn) ผิวหนังจะถูกทำลายไปจนตลอดผิวชั้นล่าง จนไม่เกิดความรู้สึกใดๆตรงบาดแผล เนื่องจากผิวหนังส่วนนั้นไม่มีความยืดหยุ่นแล้ว ทั้งมีขนหลุดล่วงออกมา ผิวหนังส่วนที่ถูกทำลายจะแห้ง แข็งหรือที่เรียกว่าผิวหนังตายนั่นเอง
การดูแลรักษาแผลเป็นไฟไหม้
- หลีกเลี่ยงการถูกสัมผัสบริเวณแผล
- รักษาความสะอาดแผล
- ห้ามประคบด้วยน้ำเย็นหรือใช้น้ำแข็งประคบ เพราะแผลจะสามารถลึกขึ้น ควรใช้เพียงน้ำอุณหภูมิห้องชะล้าง หรือสบู่อ่อนๆล้างสิ่งสกปรกออกก่อน แล้วพันแผลก่อนไปพบแพทย์
- ทานอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่ว เพื่อซ่อมแซมแผลให้หายเร็วขึ้น
- พยายามอย่าให้แผลโดนแดด หมั่นทาครีมกันแดดเป็นประจำหลังแผลหายดีแล้ว
- กรณีบาดแผลรุนแรง ให้ทายาหรือรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
ข้อควรระวังในการดูแลรักษา
สำหรับการรักษาแผลไฟไหม้ด้วยตนเองอย่าทายาหรือครีมที่ไม่ทราบสรรพคุณของตัวยาในแผล เนื่องจากจะไม่เป็นการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้แผลติดเชื้อและรักษายากมากขึ้น เช่น ยาสีฟัน น้ำปลา ยาหม่อง ตามที่โบราณบอกไว้ ซึ่งควรทราบจริงๆ จึงจะทำการรักษาเองได้หากเกิดแผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกบริเวณจุดสำคัญ เช่น ใบหน้า ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ห้ามปล่อยทิ้งไว้หรือรักษาเองเด็ดขาด หากเกิดขึ้นกับเด็กเล็กหรือผู้สูงวัย ยิ่งควรต้องไปรับการรักษาทันที เพราะวัยเหล่านี้มักจะเป็นอันตรายกว่า เนื่องจากอาจทนพิษบาดแผลไม่ไหว และร่างกายพึ่งเริ่มพัฒนาในวัยเด็ก และไม่สามารถฟื้นตัวได้แล้วในวัยชรา จึงต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์
สัญญาณบาดแผลที่ควรไปพบแพทย์ทันที
- บริเวณรอบนอกแผลมีสีขาวและไหม้เกรียม
- แผลเกิดจากสารเคมีและถูกไฟฟ้าช็อต
- แผลไหม้ผุพอง บริเวณจุดสำคัญ
- เกิดเหตุไฟไหม้กับเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์และคนชรา
- แผลจากไฟไหม้มีขนาดใหญ่

Stratamed – ป้องกันแผลเป็นสำหรับแผลเปิด
สรุป
ทั้งนี้บาดแผลต่างๆ เราสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ เพื่อบรรเทาอาการและยับยั้งความเสียหายจากอุบัติเหตุ ในปัจจุบันมีการรักษาที่ทันสมัยขึ้น มีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมามากมาย เช่น เครื่องมือหรือตัวช่วยดีๆที่เห็นผลไวก็ได้รับการนำมารักษาผู้ป่วยแผลไฟไหม้ตามระดับความรุนแรง ทั้งนี้หากแผลมีขนาดใหญ่ ลึกและเป็นวงกว้าง การใช้เวลาในการรักษาก็จะนานตามความเสียหาย ซึ่งแผลระดับสามถือว่าเป็นบาดแผลที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างอันตราย จึงต้องทำการรักษากับแพทย์โดยตรง
ดังนั้นเราเองก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเหล่านี้ได้ เพราะอุบัติเหตุเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา จึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้นต่อตนเองและคนรอบข้าง